
วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
Home by Yann Arthus-Bertrand

Home เป็นสารคดีที่มีสาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปของโลกเมื่อมนุษย์เริ่มกำเนิดขึ้นบนโลก สาระเนื้อหาของภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้จำบรรยายถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตบนโลกจนถึงยุคสมัยแห่งความเจริญของมนุษย์ผู้คุกคามสมาชิกครอบ-ครัวในบ้านหลังเดียวกัน บ้านที่ว่าก็คือโลกที่เราเหยียบอยู่นั้นเอง ปัจจับต่างๆ ที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกก่อกำเนิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็นดิน ต้นไม้ อากาศ น้ำ อาหาร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกสร้างขึ้นให้เพียงพอกับสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างสมดุล จนกระทั้งมนุษย์เริ่มพัฒนากลไกการใช้ชีวิตด้วยความสะดวกสบายด้วยเทคโนโลยีมากขึ้นจนเสียสมดุล ด้วยความโลภและความต้องการที่เพิ่มขึ้นเลื่อยๆ เเละไม่มีทางสิ้นสุด ได้เผาผลาญมรดกที่โลกมอบไว้ให้ราวกับเปลวไฟที่จะไหม้และลามไปเลื่อยๆ หากไม่มีการควมคุม โลกใบนี้อาจจะไม่เหลืออะไรไว้ให้ใครเลยก็เป็นได้ ความเจริญ ความสะดวกสบายที่ต้องแลกมาด้วยความเดือดร้อนของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ รวมทั้งตัวมนุษย์บางกลุ่มเองนั้น น้อยคนนักที่กำลังคำนึงถึงปัญหานี้อยู่ ห่วงโซสิ่งมีชีวิตเริ่มเสียหาย สิ่งมีชีวิตบางชนิดสูญพันธุ์และใกล้จะสูญพันธุ์อันเป็นผลที่เกิดจากผลกระทบของความโลภมนุษย์ ความเจริญที่ยอดเยี่ยมที่พวกเราอ้างขึ้นมาเพื่อใช้มันโดยไม่รู้สึกผิด จริงๆ แล้วมันก็ไม่ต่างอะไรกับคำว่า “เห็นแก่ตัว” ที่เบียดเบียนผู้อื่นเพียงเพื่อความสุขของตนเอง หากเรายังคงดำเนินชีวิตแบบนี้โดยไม่คำนึงถึงเพื่อนร่วมโลกของเราแล้ว ในอนาคตทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองไม่เห็นจะกลับมาทำลายตัวของพวกเราเอง

หากคนเรายังคงอุปโภคบริโภคโดยไม่คำนึงถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ใช้มรดกทรัพยากรที่โลกให้ไว้ด้วยความสิ้นเปลืองในอนาคตอาจจะไม่เหลือไว้ให้ลูกหลานได้ใช้อีกเลยก็เป็นได้ ไม่แน่สาขาอาชีพนักออกแบบอาจจะต้องสูญพันธุ์ไปด้วยเหมือนกัน เพราะทรัพยากรไม่เพียงพอที่จะออกแบบอะไรได้อีกเลย
นิทรรศการ ADC ครั้งที่ 88 และ Young Gun ครั้งที่ 7 (งานชิ้นที่ 2)
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
นิทรรศการ ADC ครั้งที่ 88 และ Young Gun ครั้งที่ 7 (งานชิ้นที่ 1)
งานชิ้นที่ 1
งานชิ้นนี้เป็นงาน Environment Design ที่ถึงว่าดีชิ้นหนึ่ง เพราะถึงเป็นการนำเอาสิ่งที่ใกล้ตัวมาก
มาสร้างเป็นงานออกแบบได้ โดยยังคงความหมายและการใช้งานอยู่ ทางม้าลายเป็นอะไรที่ถึงว่าอยู่ในชีวิต
ของทุกคน แต่ก็ยังไม่มีการออกแบบให้นอกเหนือจากรูปทรงที่เราคุ้นเคยคือเป็นทางสลับขาวดำเท่านั้น แต่
ใครจะนึกว่าเจ้าทางม้าลายธรรมดานี้จะสามารถสร้างงานและออกแบบให้แตกต่างได้อย่างสมบูรณ์แบบเช่น
นี้ จากในรูปจะพบว่าการออกแบบทางม้าลายนั้น ไม่ใช้แค่การทำให้มันแตกต่างและน่าสนใจเพียงอย่างเดียว
แต่หากการออกแบบชิ้นนี้ไม่เป็นไปอย่างระมัดระวัง อาจจะทำให้งานชิ้นนี้ไม่ประสบความสำเร็จ คือผู้คนอาจ
จะคิดว่านั้นเป็นแค่ลายกราฟฟิกธรรมดา สวยๆ ที่อยู่บนถนนเท่านั้น แต่จากในรูปการออกแบบของเขานั้น
ถือได้ว่าไม่ทำให้เกิดปัญหาที่ว่าเลย ด้วยรูปทรงที่คงเดิมของทางม้าลายแล้วนำเอาสิ่งๆ อื่นที่มีรูปทรงคล้าย
กันอย่างเช่น Bar Code มาเล่นกับพื้นถนน ก็ถือได้ว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจ ดูมาก ทำให้ถนนเส้นนี้ดูน่าข้ามไป
วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
การแบ่งหมวดหมู่ความเป็นไทย
เหตุผลคือ ไทยเดิม กับ ไทยร่วมสมัยเป็นเรื่องของกาลเวลาหรือสมัย เเต่ไทยชนบท กับ ไทยเมือง เป็นเรื่องของสถานที่หรือที่ตั้งมากกว่า ดังนั้นหากทั้ง 4 มารวมอยู่ด้วยกันอาจจะก่อให้เกิดการสับสนและยากต่อการเข้าใจ
อย่างไรก็ดี ไทยเมืองและชนบทก็มีการแบ่งออกเป็นในอดีตและปัจจุบันอยู่แล้วก็ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะไปอยู่ร่วมกับไทยเดิมและไทยร่วมสมัยได้ เพราะถ้าอยู่ด้วยกันไปก็มีเเต่จะทำให้สับสนยิ่งขึ้นไปอีก
ไทยร่วมสมัย - Contemporary Thai
จะเห็นได้ว่าคนในสมัยก่อนใช้ชีวิตต่างจากคนไทยในโลกเเห่งวัตถุโดยสิ้นเชิง ความงดงามทางศิลปะไทยเดิมค่อนข้างถูกอิทธิพลของต่างชาติเข้ามาเล่นงานค่อนข้างมาก
เช่นเดียวกันวิถีชีวิจของคนในเมืองและในชนบทก็ต่างกัน คนในชนบทจะใช้ชีวิตเรียบง่าย สบายไม่เร่งรีบเหมือนคนในกรุง ที่ต้องรีบตื่นเเต่เช้าเพื่อไปทำงาน หรือเเม้เเต่การใช้ชีวิตในบ้านก็ต่างการเหมือนกัน คนในชนบทจะทำความรู้จักกันกับเพื่อนบ้าน ในขณะที่คนในเมืองที่อยู่ห้องติดกันเเต่กลับไม่รู้จักกันเลยก็มีไม่น้อย